วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

องค์พระปฐมเจดีย์

                      http://www.youtube.com/watch?v=3MQ8RVQlk9M                    องค์พระปฐมเจดีย์

    องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นปูชนียสถานอันสำคัญของประเทศไทย อยู่ภายในวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ใหญ่ รูประฆังคว่ำ ปากผายมหึมา โครงสร้างเป็นไม้ซุง รัดด้วยโซ่เส้นมหึมาก่ออิฐ ถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องปูทับ ประกอบด้วยวิหาร 4 ทิศ กำแพงแก้ว 2 ชั้น เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการบูชาของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ทางวัดกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึง วันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน เป็น ประจำทุกปี
       พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์ มีฐานะเป็นมหาธาตุหลวง ของแผ่นดินสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้ อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้น เมื่อคราวที่พระสมณทูต ในพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิ ก็เป็นได้ เพราะพระเจดีย์เดิม มีลักษณะทรงโอคว่ำ หรือทรงมะนาวผ่าซีก แบบเดียวกับพระสถูปสาญจี แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ฯ ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของ พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ อันได้กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับเมืองราด เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกา ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามใหม่ว่า พระปฐมเจดีย์ ด้วยทรงเชื่อ ว่านี่คือเจดีย์แห่งแรกของสุวรรณภูมิ นั่นเอง
ในเรื่องนี้ นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีบางท่าน ได้ระบุว่า พระปฐมเจดีย์ไม่ได้เป็นเจดีย์ที่เก่าที่สุดของสุวรรณภูมิ แต่เป็น พระมหาธาตุหลวง ในยุคทวารวดี มากกว่า เนื่องด้วยเหตุผลประกอบหลายประการ โดยเฉพาะ การค้นพบเจดีย์ ที่มีอายุเก่าแก่กว่าพระธมเจดีย์ และหลักฐานลายลักษณ์อักษร ที่ระบุว่า " พระเจดีย์องค์นี้ เดิม ขอมเรียก พระธม " ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชาวขอมจริงๆ หรือชาวลวรัฐ ซึ่งสมัยนั้นเราก็เรียกว่าขอม เช่น ขอมสบาดโขลญลำพง คำว่า ธม สำหรับชาวขอมนั้น แปลว่า ใหญ่ ตรงกับคำเมืองว่า หลวง ซึ่งเราก็เรียกพระนครธม ว่า พระนครหลวง ด้วยเหตุผลเดียวกัน
นอกจากนี้พระบรมราชสรีรางคาร รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรจุที่ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และฐานพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามที่มีพระบรมราชโองการสั่งไว้ในพระราชพินัยกรรม ต่อมา ในพุทธศักราช 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระอังคารของ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 ไปบรรจุไว้เคียงข้างพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลที่ 6 ที่ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์


วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

http://www.youtube.com/watch?v=221UWotqwdo

                                                      ประวัติเพลง ลามาร์แซแยซ

 (ฝรั่งเศส: La Marseillaise, "เพลงแห่งเมืองมาร์แซย์") เป็นชื่อของเพลงชาติสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย โกลด โฌแซ็ฟ รูเฌ เดอ ลีล เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2335 ที่เมืองสทราซบูร์ในแคว้นอาลซัส เดิมเพลงนี้มีชื่อว่า "Chant de guerre de l'Armée du Rhin" (แปลว่า "เพลงมาร์ชกองทัพลุ่มน้ำไรน์") เดอลีลได้อุทิศเพลงนี้ให้แก่นายทหารชาวแคว้นบาวาเรีย (อยู่ในประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน) ซึ่งเกิดในประเทศฝรั่งเศสผู้หนึ่ง คือจอมพลนีกอลา ลุคเนอร์ (Nicolas Luckner) เมื่อกองทหารจากเมืองมาร์แซย์ได้ขับร้องเพลงนี้ขณะเดินแถวทหารเข้ามายังกรุงปารีส ทำให้เพลงนี้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และกลายเป็นเพลงปลุกใจในการร่วมปฏิวัติฝรั่งเศส ทั้งยังเป็นที่มาของชื่อเพลงลามาร์แซแยซดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันด้วย
สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศสได้ออกประกาศรับรองให้เพลงลามาร์แซแยซเป็นเพลงชาติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2338 ต่อมาเพลงนี้ได้ถูกงดใช้ในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และมีการนำเพลงอื่นมาใช้เป็นเพลงชาติฝรั่งเศสแทนในระยะเวลาดังกล่าวแทน โดยรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ใช้เพลงชาติที่ชื่อว่า Veillons au Salut de l'Empire และ โดยรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ใช้เพลงชาติที่ชื่อว่า Le Retour des Princes Français à Paris หลังการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2373 เพลงนี้ก็ได้กลับมาใช้เป็นเพลงชาติในระยะสั้น ๆ แต่ก็งดใช้อีกครั้งในสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ตราบจนกระทั่งฝรั่งเศสเข้าสู่สมัยสาธารณรัฐที่ 3 เพลงนี้จึงได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติอย่างถาวรเมื่อ พ.ศ. 2422[1]

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

พื้นที่ประเทศฝรั่งเศส

พื้นที่
ฝรั่งเศสมีพื้นที่ 550,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก (ประมาณเกือบหนึ่งในห้าของพื้นที่ของสหภาพยุโรป) อีกทั้งยังมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่กินอาณาบริเวณกว้างขวาง (เขตเศรษฐกิจจำเพาะมีพื้นที่ทั้งสิ้น 11 ล้านตารางกิโลเมตร)
ภูมิประเทศ
พื้นที่ประมาณสองในสามของประเทศฝรั่งเศสเป็นที่ราบ เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาแอล์ปซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในยุโรป คือ ยอดเขามงต์บลองก์ (Mont-Blanc) สูง 4,807 เมตร เทือกเขาปิเรเนส์ เทือกเขาจูรา เทือกเขาอาร์แดนส์ เทือกเขามาสซิฟ ซองทราลและเทือกเขาโวจช์ ประเทศฝรั่งเศสมีชายฝั่งทะเลอยู่ถึง 4 ด้าน คิดเป็นความยาวรวมทั้งสิ้น 5,500 กิโลเมตร (ทะเลเหนือ ช่องแคบอังกฤษ มหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน)
ภูมิอากาศ
มี 3 แบบคือ
  • แบบชายฝั่งทะเลตะวันตก (บริเวณตะวันตกของประเทศ)
  • แบบเมดิเตอร์เรเนียน (ทางตอนใต้ของประเทศ)
  • แบบภาคพื้นทวีป (ทางตอนกลางและภาคตะวันออกของประเทศ)
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
  • พื้นที่เกษตรกรรมและทำป่าไม้มีประมาณ 48 ล้านเฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 82 ของพื้นที่โดยรวมทั้งประเทศ (เฉพาะฝรั่งเศสส่วนภาคพื้นทวีป)

  • พื้นที่ป่ามีประมาณร้อยละ 30 และนับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหภาพยุโรปรองจากสวีเดนและฟินแลนด์ ตั้งแต่ปี 1945 พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 และถ้าพูดถึงในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา นับว่าเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว
  • ฝรั่งเศสมีความแตกต่างไปจากประเทศอื่นๆในยุโรปเพราะมีพันธุ์ไม้มากถึง 136 ชนิด ในส่วนของสัตว์ใหญ่ก็เพิ่มจำนวนขึ้น ภายในช่วงระยะเวลา 20 ปี จำนวนของสัตว์ประเภทกวางเพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า 
ประเทศฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับมรดกทางธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ จึงได้มีการจัดตั้ง
- อุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง
- ป่าสงวน 156 แห่ง
- เขตรักษาพันธุ์พืชและสัตว์ป่า 516 แห่ง
- รวมทั้งประกาศให้พื้นที่อีก 429 แห่งเป็นเขตอนุรักษ์อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล
- นอกจากนี้ยังมีอุทยานธรรมชาติตามภูมิภาคต่างๆ อีกกว่า 37 แห่งซึ่งกินพื้นที่กว่าร้อยละ 7 ของประเทศ
งบประมาณจำนวน 32 พันล้านยูโรได้รับการจัดสรรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อประชากรจะเท่ากับ 516 ยูโร ทั้งนี้ 3 ส่วน 4 ของเงินข้างต้นจะเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียและการจัดการของเสียต่างๆ
ในระดับนานาชาติ ฝรั่งเศสเป็นภาคีของสนธิสัญญาและอนุสัญญาทางด้านสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพและการแปรสภาพเป็นทะเลทราย

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Bonjour

Bonjour
     Je m’appelle chanokchon HUAY HONGTONG.
          Je suis thailandaise.
          J’ai 15  ans.
          J’aime le francain et l’anglais.